Search

พื้นที่ค้าปลีก ไตรมาส 2 ทรุด50% ผู้เช่าแห่เลิกสัญญา - ฐานเศรษฐกิจ

telsaroadster.blogspot.com

ตลาดพื้นที่ค้าปลีกในกทม.-ปริมณพล ไตรมาสที่ 2 เปิดใหม่แค่ 5 หมื่นตร.ม. พิษโควิดทุบ ติดลบ 50% ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาเพียบ

การประกาศปิดโครงการพื้นที่ค้าปลีกชั่วคราวไปกว่า 1 เดือนกว่าๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้านค้าและผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของโครงการพื้นที่ค้าปลีก เพราะขาดรายได้ แม้ว่าร้านค้าและผู้เช่าต่างๆ จะมีสัญญาเช่าอยู่กับผู้ประกอบการเจ้าของโครงการแต่การที่ต้องปิดร้านตามคำสั่งหน่วยงานราชการนั้นสร้างผลกระทบแน่นอน และจำเป็นต้องมีการขอลดค่าเช่าจากเจ้าของโครงการ ซึ่งเจ้าของโครงการก็จำเป็นต้องลดค่าเช่าเพราะไม่อย่างนั้นผู้เช่าหลายรายอาจจะเลือกที่จะขอยกเลิกสัญญาเช่า เนื่องจากไม่มีเงินทุนหมุนเวียน ภาพรวมตลาดพื้นที่ค้าปลีกในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ จึงออกมาในรูปแบบที่เงียบเหงาโครงการเปิดใหม่มีน้อยมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ดัชนีค้าปลีกในไตรมาสที่ 1 ติดลบ 3-7% แต่ในไตรมาสที่ 2 มีความเป็นไปได้ที่จะติดลบ 20-50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ฟีนิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่วิเคราะห์ว่าตลาดพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีพื้นที่ค้าปลีกเปิดให้บริการใหม่ 50,000 ตารางเมตร ดังนั้น ตลอดช่วงครึ่งแรกปีนี้ มีพื้นที่ค้าปลีกเปิดให้บริการใหม่เพียง 55,000 ตารางเมตรเท่านั้นน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวไม่ได้เป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากช่วง ปี 2563-2564 มีโครงการพื้นที่ค้าปลีกที่มีกำหนดการเปิดให้บริการไม่มากนัก เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ และโครงการส่วนใหญ่ที่มีกำหนดเปิดให้บริการในช่วงปี 2563 - 2564 เป็นศูนย์การค้ามากกว่าโครงการพื้นที่ค้าปลีกรูปแบบอื่นๆ โดยมีโครงการพื้นที่ค้าปลีกที่กำลังก่อสร้างและมีกำหนดเปิดให้บริการในช่วงปี 2563-2566 อีกประมาณ 900,000 ตารางเมตร พื้นที่ค้าปลีกสะสมในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบอยู่ที่ประมาณ 8,493,200 ตารางเมตรแต่ถ้าพิจารณาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้นจะมีพื้นที่ค้าปลีกรวมประมาณ 6,496,700 ตารางเมตร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บล.กสิกรไทย คาดกำไรกลุ่มค้าปลีก Q2 ลดลง 63%

ค้าปลีกอ่วม ดิ้นหนีตาย ปรับองค์กร-เลิกจ้างพุ่ง

กรุงเทพฯตะวันออกระอุ  ‘ค้าปลีก’ ชิงปักธง ดักกำลังซื้อ 

คลัง รับลูก ธุรกิจค้าปลีก ชงขอ ช็อปช่วยชาติ

โครงการพื้นที่ค้าปลีกโดยเฉพาะคอมมูนิตี้มอลล์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอกอาจจะประสบปัญหาในเรื่องของผู้เช่าที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในระยะยาว เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นผลกระทบแบบชัดเจนขึ้นหลังจากผ่านไตรมาสที่ 2 ไปแล้ว แม้ว่าโครงการพื้นที่ค้าปลีกจะกลับมาเปิดให้บริการได้อีกครั้งช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่เป็นการเปิดให้บริการภายใต้ข้อจำกัดซึ่งเป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ผู้เช่าบางรายจึงเลือกที่จะปิดกิจการชั่วคราวไปก่อนในช่วงนี้

โครงการพื้นที่ค้าปลีกที่เปิดให้บริการในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่เป็นโครงการที่อยู่ในกรุงเทพมหานครมากกว่าแบบชัดเจน อาจจะมีบางปีที่มีโครงการพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่เปิดให้บริการในพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร แต่โครงการพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอกหรือในจังหวัดปริมณฑล เนื่องจากราคาที่ดินที่ยังไม่สูงเกินไปสามารถพัฒนาโครงการพื้นที่ค้าปลีกได้


อัตราการเช่าในบางโครงการเริ่มเห็นพื้นที่ว่าง หรือการขอยกเลิกสัญญาเช่าบ้างแล้ว และอาจจะเห็นมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งมีผลต่อเนื่องให้ภาพรวมของอัตราการเช่าเฉลี่ยในบางพื้นที่ลดลง แม้ว่าในภาพรวมแล้วอัตราการเช่าของโครงการพื้นที่ค้าปลีกประเภทต่างๆ จะยังอยู่ในอัตราสูงกว่า 92% ขึ้นไป ผู้เช่าทั้งรายใหญ่ และรายเล็กในโครงการพื้นที่ค้าปลีกต่างๆ อาจจะยังคงพื้นที่เช่าของตนเองไว้ก่อนในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

แต่หากภาวะการแพร่ระบาดรุนแรงขึ้นหรือภาวะเศรษฐกิจหลังจากผ่านพ้นวิกฤติไวรัสโควิด-19 ไปแล้วยังไม่ฟื้นตัวก็คงเห็นพื้นที่ว่างในโครงการพื้นที่ค้าปลีกมากขึ้นแน่นอน

ค่าเช่าเฉลี่ยของโครงการพื้นที่ค้าปลีกแต่ละประเภทจะแตกต่างกันรวมไปถึงทำเลที่ตั้งของโครงการก็มีผลต่อค่าเช่าด้วยเช่นกัน คอมมูนิตี้มอลล์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอกหรือในจังหวัดปริมณฑลไม่สามารถเรียกค่าเช่าพื้นที่ได้สูงเมื่อเทียบกับโครงการที่อยู่ในพื้นที่ใกล้กับเมืองชั้นในมากกว่า โครงการพื้นที่ค้าปลีกเกือบทั้งหมดจำเป็นต้องลดค่าเช่าหรือยกเว้นค่าเช่าให้กับผู้เช่าในช่วงที่โครงการปิดการให้บริการตามคำสั่งของหน่วยงานราชการรวมไปถึงช่วงเวลาหลังจากที่โครงการพื้นที่ค้าปลีกกลับมาเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบแล้ว เนื่องจากข้อจำกัดของการใช้บริการภายใต้เงื่อนไข Social Distancing ในโครงการพื้นที่ค้าปลีกมีผลให้การให้บริการของผู้เช่าหลายรายยังไม่สะดวกแบบก่อนหน้านี้โดยเฉพาะร้านอาหารจึงมีผลให้รายได้ของพวกเขาลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติไวรัส 

หน้า 19-20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40  ฉบับที่ 3,592 วันที่ 16 - 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


Let's block ads! (Why?)




July 18, 2020 at 07:20PM
https://ift.tt/3eNiVss

พื้นที่ค้าปลีก ไตรมาส 2 ทรุด50% ผู้เช่าแห่เลิกสัญญา - ฐานเศรษฐกิจ

https://ift.tt/374d13T


Bagikan Berita Ini

0 Response to "พื้นที่ค้าปลีก ไตรมาส 2 ทรุด50% ผู้เช่าแห่เลิกสัญญา - ฐานเศรษฐกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.