บอร์ด “สุนทร” ชี้แจงพัลวัน “รับเบอร์วับเลย์เอาท์” เช่าพื้น กยท.วันนี้ที่ต่าง จาก “เซี่ยงไฮ้ไทยรับเบอร์” อย่างไร ในปี 2561 ยันไม่มีการลอยแพพนักงาน มีลักษณะร่วมลงทุน ไม่ใช่ปล่อยเช่า
นายสุนทร รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย และ เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย(สคยท.) เผยว่า ขอชี้แจงมีคนเอาข่าวของผมตอนปี 2561 และในปัจจุบัน มาบิดเบือนข้อมูลเพื่อใส่ร้ายป้ายสีและทำลายผม “โครงการรับเบอร์วัลเลย์” ในพื้นที่ 20,000 ไร่ ของ กยท. ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเก่าตอนปี 2561 (บ.เซียงไฮ้ไทยรับเบอร์) ที่ทุนจีนมาขอใช้พื้นที่เช่า 30 ปี ส่วนเรื่องใหม่ที่โรงงานจีนจะมาใช้พื้นที่ทำโรงงานถุงมือยาง ก็ยังเป็นแค่โปรเจ็กต์ที่แสดงความจำนงมา จะใช้พื้นที่ถึง 50 ไร่รึเปล่าก็ยังไม่ทราบแน่ชัด และบิดเบือนข้อมูลว่าเขาจะผลิตถุงมือไนไตรโดยบังหน้าว่าผลิตถุงมือยางธรรมชาติ เขาทำการผลิตแล้วหรือมโนกันเอาเอง
“รับเบอร์วัลเลย์” จะเป็นโครงการร่วมทุนของการยางแห่งประเทศไทย อย่าเพิ่งลงรายละเอียด เพราะต้องออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และยังต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง วันนี้จึงเป็นแค่วิสัยทัศน์ หรือแนวคิดของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน ที่จะให้รับเบอร์วัลเลย์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ
“แต่ตอนนี้มีการสุมหัวกันบิดเบือนข้อมูลเรื่องนี้ โดยกลุ่มผลประโยชน์ในพื้นที่ และเครือข่ายที่ทำมาหาหากินเรื่องยางและปุ๋ยกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันในอดีต วันนี้ก็มาอยู่ในวงการเมือง และกำลังจะใช้กรรมในไม่ช้า พี่น้องคอยติดตาม (กัมมุนา วัตตีโลโก) แกงค์ผลประโยชน์กลุ่มนี้ปล่อยข่าวว่าจะมีการยกที่ดิน 20,000 ไร่ให้จีนเช่า แล้วคนกรีดยางของ กยท.จะตกงานบ้าง กยท.จะเสียผลประโยชน์บ้าง คิดกันไปเองทั้งนั้น และไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
“ความเห็นส่วนตัวผม "rubber valley" จะมีองค์ประกอบ 5 อย่าง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ 1.มีศูนย์เรียนรู้ต้นน้ำที่มีนวัตกรรม คือการทำสวนยางยั่งยืน 4000-8000 ไร่ของ กยท. ที่มีองค์ความรู้เรื่องการจัดการสวนยางแบบใหม่ เข่น เรื่องระยะการปลูก จำนวนต้นเท่าไหร่(40-50 ต้น) ที่จะให้ผลผลิตเท่ากับสวนยางเชิงเดี่ยว มีเรื่องเศรษฐศาสตร์การยาง เช่น ปลูกพืชอะไรในสวนยาง ทำเกษตรผสมผสานอะไร มีตลาดที่ไหนบ้าง มีโรงงานแปรรูปไหม เป็นต้น รวมทั้งการรับรองมาตรฐานการจัดการสวนยางยั่งยืนระดับสากล เช่น FSC หรือ PEFC
2.ต้องมีโรงงานแปรรูปยางกลางน้ำ ที่วัตถุดิบมาจากสวนยาง GAP และยางกลางน้ำต้องมีมาตรฐานรับรอง เช่น GMP หรือ ISO 3.มีอุตสาหกรรมยางปลายน้ำที่แปรรูปยางเชิงนวัตกรรม เพื่อเป็นสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ผลิตภัณฑ์ใช้ทางการแพทย์จากยางธรรมชาติ 4.มีสถาบันวิชาการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการยาง ทั้งนวัตกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำ 5.การลงทุนอาจเป็นบริษัทลูก บริษัทร่วมทุน หรือบริษัทมหาชน ตามมาตรา 9และ10 พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหาร ไม่ติดกับดักกลไกของราชการที่ทำให้แข่งขันทางธุรกิจไม่ได้
แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ กยท.ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เผยว่า ในปี 2561 บริษัทเซียงไฮ่ไทยรับเบอร์ จำกัด มีความประสงค์ของเช่าในพื้นที่ ต.กรุงหยัน อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช กว่า 2 หมื่นไร่ เป็นระยะเวลา 30 ปี ส่วน "รับเบอร์วัลเลย์" ที่นาบอน แต่มีพื้นที่ไม่ถึง 2 หมื่นไร่ คนละที่กัน ทางเจ้าหน้าที่ก็ยังไม่ทราบรายละเอียดชัดเจนมากนัก แต่ต้องติดตามเพราะทางส่วนกลางก็ยังไม่ได้ส่งข่าวความคืบหน้ามา มีแต่รายละเอียดผ่านสื่อเท่านั้น
July 12, 2020 at 11:50AM
https://ift.tt/3iXkjf0
เคลียร์ ปมทุนจีนเช่า กยท.2 หมื่นไร่ - ฐานเศรษฐกิจ
https://ift.tt/374d13T
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เคลียร์ ปมทุนจีนเช่า กยท.2 หมื่นไร่ - ฐานเศรษฐกิจ"
Post a Comment